มีทั้งดี แย่ และขาดหายไป ( พวกฟีเจอร์ต่างๆ )
ผมคงตำหนิ Constant Contact ไม่ได้หรอกว่าบริการให้ความสะดวกในการใช้งานทั่วๆไป แน่นอนว่า คุณจะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการทำการตลาดผ่านอีเมลอยู่แล้วเพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่าจากแพลตฟอร์ม และนั่นก็เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนรู้ๆกันอยู่
แต่แพลตฟอร์มที่พิเศษนี้มีความโดดเด่นตรงที่มีบทเรียนช่วยสอนการใช้งานพื้นฐานที่ดีในหน้าต่างใช้งาน และหน้าต่างใช้งานนั้นรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ บางครั้งผมก็รู้สึกหงุดหงิดกับเครื่องมือในการสร้างเพจและอีเมลที่ช้าและอืดอาด หงุดหงิดแม้กระทั่งอุปกรณ์เล่นเกมของผม แต่ปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นกับการใช้บริการนี้
เมื่อบริการใช้งานได้จริงตามที่คุณต้องการ นั่นทำให้ Constant Contact ยิ่งน่าใช้งานอย่างมาก มีแค่การใช้งานแปลกๆบางอย่างที่ขาดหายไปซึ่งก็อาจจะทำให้คุณผิดหวัง มันเหมือนกับเบอร์เกอร์ที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง แต่ขาดผักดองที่ต้องมีอย่างระบบเวิร์กโฟลว์การทำงานอัตโนมัติแบบกำหนดเอง ซึ่งการทำงานี้มันอยู่ที่ไหนล่ะ? นั่นคือสิ่งที่ผมอยากรู้
ใช่แล้ว แพลตฟอร์มนี้ขาดฟีเจอร์ขั้นสูงบางอย่างที่เราคาดหวังว่าจะได้รับจากการแข่งขันกันระหว่างหลายๆเจ้า นี่คือสิ่งที่ผมหมายถึง
แคมเปญอีเมล , เทมเพลต และการปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
แคมเปญอีเมลนั้นค่อนข้างเรียบง่ายและค่อนข้างจำกัด แผนอีเมลช่วยให้คุณสามารถส่งอีเมลไปยังผู้ติดต่อได้มากถึง 10,000 ราย และแผนอีเมลพลัส จะช่วยให้คุณส่งอีเมลได้ถึง 50,000 ฉบับ และดูเหมือนจะไม่มีตัวเลือกสำหรับทุกคนที่มีรายชื่อผู้ติดต่อที่เยอะกว่านี้
แผนอีเมลพลัส ยังให้การเข้าถึงการใช้งานสิ่งต่างๆ เช่น แบบฟอร์มป๊อปอัปส่วนบุคคล แบบฟอร์ม RSVP โพล คูปอง การบริจาคออนไลน์ เนื้อหาอีเมลส่วนบุคคล และอื่นๆอีกมากมาย
หลังจากที่คุณส่งแคมเปญใดๆก็ตาม การแบ่งปันอีเมล/จดหมายข่าวเดียวกันลงบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเพียงแค่เรื่องของการคลิกปุ่มที่ปรากฏขึ้นเมื่อคุณส่งอีเมลออกไปตามปกติ คุณสามารถแชร์เนื้อหาของคุณบน Facebook (หน้าเพจธุรกิจเท่านั้น), Instagram (สำหรับธุรกิจเท่านั้น), LinkedIn และ Twitter ได้เลย
ในทางเทคนิคแล้วคุณยังสามารถส่งแคมเปญออกไปผ่านทาง SMS แต่สิ่งเหล่านี้เป็นแคมเปญที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง และในเชิงเทคนิค คุณจะต้องส่งแคมเปญต่างๆผ่านบริการแยกต่างหากที่เรียกว่า EZtexting ซึ่งดูเหมือนว่า Constant Contact มีข้อตกลงทางธุรกิจกับ EZTexting เพื่อจัดการในส่วนนั้นของบริการ
เทมเพลตต่างๆของการทำแคมเปญอีเมลนั้นน่านับถืออย่างมาก โอเคล่ะ มีบางคนที่อาจจะรู้สึกว่ามันดูเชยไปหน่อย แต่โดยทั่วไปเทมเพลตก็เป็นแนวคลีนๆ ทันสมัย และดูดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีเทมเพลทมากกว่า 300 รายการ ดังนั้นคุณมีตัวเลือกเยอะแยะ ถ้าไม่ต้องการใช้เทมเพลตที่สร้างไว้ล่วงหน้า? ก็มีหลายเทมเพลทที่ช่วยให้คุณเริ่มต้นจากเฟรมเวิร์กโครงร่างหรือแม้กระทั่งเริ่มใหม่ทั้งหมดจากศูนย์ เพื่อให้คุณสามารถยืดหยุ่นใช้ทักษะการออกแบบดีไซน์อีเมลของคุณเอง
เห็นไหม? เทมเพลตของ Constant Contact ดูดีเลยทีเดียว 1
เทมเพลตเหล่านี้สามารถค้นหาได้ทั้งหมดและจัดหมวดหมู่ได้ตามแท็ก เช่น “วันหยุด” (เช่น “ดูดีลโปรโมชั่นคริสต์มาสของเรา”) “จดหมายข่าว” หรือ “คำทักทาย” (เช่น “ยินดีต้อนรับสู่รายชื่อผู้รับจดหมายของเรา”) เทมเพลตทั้งหมดตอบสนองต่อมือถือได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากใช้สมาร์ทโฟนมากกว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ
และ คนใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลาแม้ตอนที่ผมไม่ได้ทำงานบนโต๊ะทำงาน ที่ทำงานอื่นๆ หรือคอมพิวเตอร์ของผม หรือแม้กระทั้งเวลาที่ผม ใช้มือถืออยู่ก็ตาม นั่นเป็นเหตุผลที่เขาจ้างให้ผมเขียนรีวิวเพื่อหาเลี้ยงชีพ
ตัวสร้าง / ตัวแก้ไขอีเมลที่แท้จริงนั้นค่อนข้างดีเลย มีพวกฟีเจอร์พื้นฐานทั้งหมดที่คุณต้องการครบ : การแก้ไขแบบลากและวาง มีบล็อกเนื้อหาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อช่วยคุณจัดวางข้อความและรูปภาพ การเลือกแบบฟ้อนท์อักษรที่เหมาะสม การปรับแต่งสีที่เรียบง่าย ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องมือดีๆทั้งนั้น แต่คุณจะต้องอัปโหลดภาพของคุณเอง เพราะบริการไม่มีคลังรูปภาพให้ใช้
โอเคล่ะ คลังภาพสต็อกไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น แต่ถ้ามีให้ก็เยี่ยมเลย พอจะนึกออกไหมครับ?
การสนับสนุนภาษา RTL ภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้าย (สำหรับภาษาเช่นอารบิกและฮิบรู) ถ้ามีก็คงจะดี แต่ก็ยังขาดอยู่ สำหรับภาษาต่างๆ คุณควรรู้ว่าตัวแก้ไขมีให้บริการใน 9 ภาษา แต่ยังไม่มีให้บริการในภาษาเวียดนาม
เมื่อพูดถึงฟีเจอร์ต่างๆที่ถ้ามีได้ก็ดี คุณยังสามารถใส่ส่วนเสริมจำนวนมากลงในโครงร่างอีเมลของคุณ (ในแผนอีเมลพลัส) รวมถึงผลิตภัณฑ์จากร้านค้า Shopify หรือ WooCommerce กิจกรรมต่างๆจาก Eventbrite โพลที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้และแบบฟอร์ม RSVP และอื่นๆอีกมากมาย
ตอนนี้ ผมจำเป็นต้องสารภาพว่า: ผมถ่ายภาพหน้าจอรูปถัดไปนี้จากศูนย์ช่วยเหลือของ Constant Contact เพราะผมถ่ายภาพหน้าจอไว้ได้แทบทุกฟีเจอร์ ยกเว้น เครื่องมือตัวแก้ไขอีเมล และผมไม่สามารถกลับไปถ่ายได้อีกรอบเพราะบัญชีของผมถูกยกเลิก
บล็อกเนื้อหาที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ ทำให้การสร้างอีเมลเป็นเรื่องง่าย
คุณยังสามารถ ( และเรายังอยู่ในการใช้งานแผนอีเมลพลัส ) ปรับแต่งอีเมลของคุณให้เข้ากับผู้ติดต่อแต่ละคนพร้อมตัวแปรต่างๆ ตัวอย่างเช่น หัวเรื่องและคำทักทายที่สามารถพูดว่า “ดาห์ล่าที่รัก” แทนคำว่า “สวัสดีลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ที่มีอุปการคุณมาก อุปการคุณมากจริงๆ”
คุณยังสามารถใช้ตัวแปรต่างๆเหล่านี้เพื่อใส่ข้อมูลใดๆของลูกค้า เช่น ที่อยู่อาศัย หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด หรืออะไรก็ตามที่คุณนึกออก สุดท้ายนี้มีตัวแปรสำหรับบัญชีของคุณ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เว็บไซต์ อีเมล และตัวแปรอื่นๆของคุณ เอง ทั้งหมดนี้มีประโยชน์มากสำหรับแคมเปญอัตโนมัติและสำหรับการทำสิ่งต่างๆ เช่น การยืนยันข้อมูลติดต่อของลูกค้า
สิ่งที่คุณทำไม่ได้ และนี่คือจุดบอดที่ค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ “การแสดงเนื้อหาแบบไดนามิก” ตามข้อมูลลูกค้า ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการแสดงข้อความพิเศษให้กับผู้ใช้กลุ่มหนึ่ง (เช่นลูกค้าที่ชื่อสตีฟทั้งหมด) และส่งข้อความอื่นไปยังลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง (เช่น ดาห์ล่า ทั้งหมด) ในอีเมลเดียวกัน บางแพลตฟอร์มก็อนุญาตให้คุณทำเช่นนั้นได้ ซึ่งในบริการ Constant Contact คุณจะต้องสร้างรายชื่อ สตีฟและดาห์ล่าทั้งหมดแยกรายชื่ออีเมลจากกัน และส่งแต่ละรายชื่ออีเมลในอีเมลคนละอันกัน
GetResponse และ Sendinblue บริการทั้งสองนี้จะช่วยให้คุณทำสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวไปได้ง่ายขึ้นมาก
ฟีเจอร์อื่นๆที่ไม่สมบูรณ์คือการทดสอบ A/B แล้วการทดสอบที่ว่ามันคืออะไรกันล่ะ? สมมติว่าคุณต้องการส่งแคมเปญอีเมลไปยังผู้ติดต่อทั้งหมดของคุณ แต่คุณต้องการส่งสองเวอร์ชั่นที่แตกต่างกันเพื่อทดสอบดูว่าเวอร์ชั่นใดทำงานได้ดีกว่ากัน
สมมติว่าคุณกำลังลองใช้ปุ่มสีน้ำเงินใหญ่ๆที่มีคำว่า “ซื้อเลย” และอีกปุ่มหนึ่งที่มีสีแดงขนาดเล็ก โดยการทดสอบ A/B จะให้คุณสามารถส่งอีเมลที่มีการออกแบบดีไซน์ด้วยปุ่มสีน้ำเงินขนาดใหญ่ไปยังผู้ใช้ของคุณครึ่งหนึ่ง และแบบสีแดงส่งให้ผู้ใช้อีกครึ่งหนึ่ง จากนั้น ผลการวิเคราะห์และสถิติจะช่วยบอกคุณได้ว่ามีคนคลิกการออกแบบปุ่มไหนมากกว่าอีกกี่คน
ตอนนี้ Constant Contact มีการทดสอบ A/B ให้ใช้แต่ก็มีข้อจำกัดอย่างมาก สิ่งที่คุณทำได้คือทดสอบการใช้หัวเรื่องต่างๆ แต่ถ้าคุณต้องการทดสอบอีเมลสองเวอร์ชั่นที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเนื้อหาหรือการออกแบบดีไซน์ บริการนี่ไม่ใช่ตัวเลือกที่ใช้ได้
การทดสอบ A/B เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญวิธีหนึ่งเลยที่บริษัทต่างๆ จะวัดประสิทธิภาพของการออกแบบดีไซน์และการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในการทำการตลาดผ่านอีเมล ดังนั้น (ส่วนใหญ่) ไม่มีตัวเลือกพวกนี้ให้ลองทำการทดสอบจึงน่าหงุดหงิดมาก และเป็นเรื่องแปลกสำหรับแพลตฟอร์มการทำการตลาดผ่านอีเมลรายใหญ่ที่จำกัดการทดสอบของคุณแบบนี้ ซึ่ง บริการการทำการตลาดผ่านอีเมลชั้นนำ เกือบทั้งหมดทุกเจ้าช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในส่วนนี้มากขึ้น
รายชื่อผู้รับอีเมล และการแบ่งกลุ่มผู้ติดต่อ
โชคดีที่การสร้างและการจัดการรายชื่อผู้รับอีเมลของคุณนั้นค่อนข้างง่ายใน Constant Contact คุณสามารถสร้างเว็บฟอร์มที่สามารถฝังลงบนหน้าเว็บใดๆก็ได้อย่างง่ายดายเพื่อรวบรวมที่อยู่อีเมล หากคุณมีอีเมลจำนวนมากที่ต้องใช้งานอยู่แล้ว คุณสามารถนำเข้าได้โดยคัดลอกและวาง หรืออัปโหลดไฟล์ และท้ายสุด คุณสามารถพิมพ์รายชื่อผู้ติดต่อด้วยตนเองได้
หมายเหตุ: ไฟล์ที่รองรับ ได้แก่ ไฟล์ Microsoft Excel (.xls, .xlsx), ไฟล์ .csv, .vcf และแม้แต่ไฟล์ข้อความที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค
ประสบการณ์ที่ผมได้รับทั้งราบรื่นและเรียบง่าย หากคุณมีข้อมูลผู้ติดต่ออยู่แล้ว คุณยังสามารถนำเข้าชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อายุ เพศ และข้อมูลอื่นๆใดก็ตามที่คุณจะออกนึกได้อย่างง่ายดาย
ผมมักจะมีประเด็นติดอยู่กับที่อยู่อีเมลสำหรับการทดสอบ แต่คุณสามารถนำเข้าข้อมูลได้มากเท่าที่คุณต้องการ
คุณสามารถค้นหาและจัดเรียงผู้ติดต่อของคุณทางอีเมล สถานะ (สมัครรับข้อมูลข่าวสารหรือไม่) แหล่งที่มา วันที่เพิ่ม ตำแหน่งงาน ชื่อบริษัท และที่ตั้ง หากคุณต้องการค้นหาผู้ติดต่อตามเกณฑ์ค้นหาขั้นสูง สามารถใช้ฟีเจอร์การค้นหาขั้นสูงที่ช่วยคุณได้ คุณยังสามารถแท็กรายชื่อผู้ติดต่อเพื่อให้การค้นหาทำได้ง่ายขึ้นมาก
ในตอนนี้ สมมติว่าคุณได้ทำการค้นหาขั้นสูงสำหรับผู้ติดต่อทั้งหมดของคุณที่คลิกลิงก์ในอีเมลของคุณในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เหล่าคนที่สมัครรับข้อมูลจากรายชื่อผู้รับอีเมล “กระโปรงแฟนซี” ของคุณและอาศัยอยู่นอกสกอตแลนด์ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณมีการอัปเดตรายชื่อแบบไดนามิกสำหรับผู้ติดต่อที่เฉพาะเจาะจงเหล่านั้นที่คอยเพิ่มรายชื่อในลิสรายชื่อผู้รับอีเมลให้เอง ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องทำการค้นหาใหม่ทุกครั้ง?
คุณสามารถเรียกการทำงานนี้ว่าการแบ่งกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อ ซึ่งการทำงานที่ว่านี้เป็นแกนหลักของแคมเปญการทำโฆษณาหลายๆแคมเปญ ข่าวดีก็คือ – Constant Contact มีการแบ่งกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อที่เป็นปัจจุบันและมีประสิทธิภาพ คุณสามารถสร้างตัวกรองตามสิ่งที่คุณรู้เกี่ยวกับสมาชิกที่ติดตามรับข้อมูลข่าวสารของคุณและเริ่มการทำแคมเปญได้เลย
หน้าต่างใช้งานตัวกรองของการแบ่งกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อนั้นค่อนข้างใช้งานง่าย และสามารถทำงานร่วมกับ Shopify, eBay และอื่นๆ
ผมต้องการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคุณสามารถแบ่งกลุ่มรายชื่อผู้ติดต่อของคุณตามการมีส่วนร่วมได้ นั่นคือ คุณสามารถจัดเรียงผู้ติดต่อตามผู้ที่มีส่วนร่วมกับอีเมลของคุณ ว่ามีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด มีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีส่วนร่วมเลยก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณระบุผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพไว้ได้มากที่สุด
บริการนี้ไม่มีรายการระงับให้ใช้ ซึ่งฟีเจอร์นี้ขาดหายไป ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าและ Constant Contact ก็ ควร จะมีรายการดังกล่าวให้ใช้จริงๆนั่นแหละ
เอาจริงๆ รายการระงับเป็นสิ่งเล็กน้อยที่มีประโยชน์ ซึ่งรายการเหล่านี้คือรายการที่รวบรวมรายชื่อบุคคลที่คุณไม่ต้องการส่งอีเมลถึงไม่ว่าจะในกรณีใดๆ การใช้งานที่พบบ่อยที่สุดสำหรับรายการเหล่านี้คือการป้องกันไม่ให้คุณส่งอีเมลถึงผู้ที่ยกเลิกการสมัครรับข้อมูลข่าวสารไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ ในบางประเทศมันเป็นเรื่องของกฎหมาย ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจรายการเหล่านี้
โชคดีที่ Constant Contact มีรายการที่สามารถบล็อกด้วยตนเองซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อบล็อกผู้คนได้ตลอดไป คุณจำเป็นต้องใช้รายการนี้แน่ๆ และมันก็มีให้ใช้
แลนดิ้งเพจ
หน้าแลนดิ้งเพจนั้นยอดเยี่ยมเลย เมื่อคุณต้องการขายสินค้าหรือบริการบางอย่างในคราวเดียว
หน้าแลนดิ้งเพจของ Constant Contact นั้นดูดีเลย แต่ก็เป็นเช่นเดียวกันกับระบบทำงานอัตโนมัติ ที่มันค่อนข้างจะไม่สมบูรณ์ มาดูกันว่าผมจะใส่ข้อมูลลงไปยังไง แลนดิ้งเพจมีเทมเพลท 5 แม่แบบ ใช่แล้ว เพียงแค่ 5 เทมเพลทนี่แหละ ไม่มีเลขศูนย์หายไป
เอาจริงๆนะ เทมเพลตหน้าแลนดิ้งเพจ มีแค่สามแบบที่ดูไม่ว่างเปล่าและดูโอเค
ที่จริงแล้วเทมเพลตนั้นตอบสนองได้ดีและมีคุณภาพเทียบแล้วพอๆกับเทมเพลตอีเมล ตัวแก้ไขหน้าแลนดิ้งเพจก็พอๆกันเช่นกัน อันที่จริง มันเกือบจะเหมือนกันทุกประการ แค่หักลบการผสานรวมของ Shopify และอื่นๆปลีกย่อยออกไป
เครื่องมือแก้ไขหน้าแลนดิ้งเพจของ Constant Contact มีลักษณะและทำงานได้เกือบเหมือนกับเครื่องมือแก้ไขอีเมลเด๊ะๆเลย
ไม่ใช่ฟีเจอร์นี้ไม่ดี แต่หากคุณมีเนื้อหาทั้งหมดพร้อมใช้ ไม่มีเหตุผลใดที่คุณไม่สามารถสร้างเพจและให้เริ่มทำงานภายใน 10 นาทีหรือน้อยกว่านั้นได้ เพียงแต่อาจจะต้องมีการทำงานเยอะขึ้นและใช้เทมเพลตเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นใช้งาน ซึ่งทางบริการได้ลดเทมเพลตจากที่มากกว่า 300 แบบให้เหลือ 5 ถือว่าลดลงเยอะมากเลยทีเดียว
นอกจากนี้ทางบริการยังควรเพิ่มการสนับสนุนสำหรับการใช้โดเมนที่กำหนดเอง (เช่น yourwebsite.com) ซึ่งหน้าแลนดิ้งเพจของคุณจะไม่ปรากฏภายใต้โดเมนเว็บไซต์ของคุณด้วยซ้ำ และนั่นอาจส่งผลแย่ต่อการทำ SEO ของคุณ อีกทั้งยังส่งผลต่อความสามารถในการส่งอีเมลให้ถึงผู้รับของคุณ จะดีกว่าถ้าลิงก์ในอีเมลของคุณลิงก์กลับไปยังโดเมนของคุณเอง
ระบบการทำงานอัตโนมัติ
ระบบทำงานอัตโนมัติเป็นฟีเจอร์ยอดเยี่ยมที่มีให้ใช้บริการใน Constant Contact เท่านั้น โดยการทำงานอัตโนมัตินั้นยอดเยี่ยมมากสำหรับการออกแบบดีไซน์กระบวนการ ตัวอย่างเช่น “ หากลูกค้าลงทะเบียนเพื่อรับดีลโปรโมชั่น ให้ส่งอีเมลต้อนรับแก่พวกเขา แล้วรอหกเดือน จากนั้นส่งแบบสำรวจเพื่อสอบถามว่าพวกเขาชอบดีลโปรโมชั่นของเราหรือไม่ รอหนึ่งปีแล้วถามว่าพวกเขาจะแนะนำเราให้กับเพื่อนหรือไม่”
เป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์สำหรับหลาย ๆ คน และแพลตฟอร์มการทำการตลาดผ่านอีเมลหลายๆเจ้าจะช่วยให้คุณสามารถผสมผสานแคมเปญการตลาดและการโต้ตอบกับผู้ใช้งานเพื่อสร้างระบบที่คุณแทบไม่ต้องคอยจับตามอง
อย่างไรก็ตาม Constant Contact ไม่อนุญาตให้คุณออกแบบเวิร์กโฟลว์การทำงานอัตโนมัติของคุณเอง โดยบริการมีสามตัวเลือกหลักให้แก่คุณ ได้แก่:
ตัวเลือกเหล่านี้เป็นเพียงตัวเลือกอีเมลอัตโนมัติที่คุณได้รับจาก Constant Contact
อีเมลต้อนรับอัตโนมัติ (เมื่อผู้ใช้สมัครลงทะเบียน)
อีเมลวันเกิด
อีเมลวันครบรอบ ไม่ใช่เพียงแค่วันครบรอบของลูกค้ากับคู่สมรส คู่ชีวิต หรือน้องหมาน้องแมวอะไรก็ตาม วันครบรอบในที่นี้หมายถึง วันครบรอบการลงชื่อสมัครรับอีเมลการตลาดของคุณ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เราโฟกัส
ในทางเทคนิคแล้ว คุณยังสามารถ ส่งอีเมลว่า “ทำไมคุณไม่กลับมาซื้อของล่ะ?” หากมีคนทิ้งตะกร้าสินค้าบนเว็บไซต์ของคุณไว้ แต่ฟีเจอร์นั้นดูเหมือนว่าจะใช้ได้เฉพาะเมื่อคุณใช้ Shopify หรือหากคุณใช้เครื่องมือสร้างร้านค้าออนไลน์ของ Constant Contact เอง
โอ้ว และทางบริการไม่มีตัวเลือกระบบตอบกลับอัตโนมัติสำหรับผู้ที่ส่งอีเมลถึงคุณเช่นกัน กล่าวโดยย่อก็คือ ระบบทำงานอัตโนมัติมี ให้ใช้แต่มีข้อจำกัดหลายอย่างมาก ผมชอบที่บริการทำงานได้ดี แต่ผมก็หวังกับ [สิ่งศักดิ์สิทธิ์] ว่าอยากให้มีการทำงานได้อย่างหลากหลายมากกว่านี้
ฟีเจอร์อื่นๆเพิ่มเติม
เหนือสิ่งอื่นใด Constant Contact ยังมีเครื่องมือตัวสร้างเว็บไซต์และตัวสร้างร้านค้าออนไลน์อีกด้วย ผมไม่ได้เช็คฟีเจอร์พวกนี้อย่างจริงจังเท่าไหร่ เนื่องจากอยู่เกินขอบเขตของการรีวิวนี้ แต่ก็อยากให้รู้ไว้ว่ามีฟีเจอร์พวกนี้อยู่ให้สามารถเลือกใช้ได้
คุณจะได้รับพื้นที่จัดเก็บไฟล์ได้อย่างไม่จำกัด (ภายใต้เงื่อนไข) รวมถึงการวิเคราะห์ผลบนเว็บไซต์ ฟีเจอร์ในการเขียนบล็อก และเครื่องมือตัวสร้างเว็บไซต์อื่นๆ ตัวสร้างร้านค้าเสนอการขายผลิตภัณฑ์แบบไม่จำกัด รองรับทั้งผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและสินค้าจริง รวมทั้งการจัดการสินค้าคงคลังและภาษี คูปองและส่วนลด…. เป็นเหล่าฟีเจอร์ทั่วไปที่คุณต้องการใช้มันอย่างแน่นอน
Constant Contact มีเครื่องมือตัวจัดการอีเว้นท์ ซึ่งช่วยให้คุณติดตามการลงทะเบียนของผู้ใช้สำหรับกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ เรากำลังพูดถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนาผ่านเว็บ ชั้นเรียน เวิร์กช็อป การสาธิตผลิตภัณฑ์ และอื่นๆอีกมากมาย
แน่นอนว่า คุณสามารถตั้งค่าหน้า Landing Page สำหรับการลงทะเบียนกิจกรรม ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้คนต่างๆ และติดตามว่าใครมีรหัสคูปองบ้าง ทำได้ทุกอย่างเลย คุณยังสามารถรับการชำระเงินได้ในหน้าสมัครใช้งาน หากคุณต้องการให้หน้าเพจนั้นเป็นเพื่อการใช้งานดังกล่าว
สุดท้ายนี้ บริการ Constant Contact สามารถรวมตัวเองเข้ากับบริการอื่นๆอีก มากมาย ไม่ใช่แค่ Shopify, WooCommerce หรือ eBay คุณสามารถใช้ร่วมกันกับเกือบทุกแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผล อย่างซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการระดมทุนของ DonorPerfect หรืออย่าง BigCommerce และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ Zapier เพื่อเชื่อมต่อ Constant Contact กับอะไรก็ได้บนอินเทอร์เน็ต สำหรับการผสานรวมของบริการจากบุคคลที่สาม ที่มีมากกว่า 3300+ รายการ
พอทราบจำนวนแล้ว เอาจริง มันเยอะมากๆนะ
Constant Contact สามารถทำงานประสานร่วมได้กับหลายบริการจำนวนมาก เรียกได้ว่าครอบคลุมทั่วทุกตลาดทั้งหมด
โดยรวมแล้ว ฟีเจอร์ที่ Constant Contact มี นั้นยอดเยี่ยม และใช้งานได้ดีในการทำงานทั่วๆไป แต่ก็มีฟีเจอร์พื้นฐานหลายอย่างที่ขาดหายไป ซึ่งผมรู้สึกผิดหวังนิดหน่อย