เมื่อพูดถึงวิธีขายสินค้าออนไลน์แล้ว แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใช่ จะช่วยสร้างความแตกต่างได้ชัดเจนระหว่างความสำเร็จกับความล้มเหลว
แน่นอนว่าการเลือกใช้ marketplace ที่ถูกสร้างไว้บนเว็บไซต์โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, TikTok หรือ Instagram นั้นจะง่ายกว่า (และถูกกว่า) แต่นั่นอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดก็ได้
แพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยคุณได้ไม่เต็มที่ เพราะว่ามันขาดฟีเจอร์และเครื่องมือที่จะช่วยสร้างธุรกิจที่ทำกำไรได้
สิ่งที่คุณควรจะใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จก็คือเว็บไซต์ของคุณเอง และเครื่องมือสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ไม่ต้องเขียนโค้ดอย่าง Shopify ก็จะช่วยคุณได้ ด้วยเทมเพลตร้านที่ถูกออกแบบมาให้เลือกมากมาย รวมถึงโปรแกรมแบบลากวางที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่ ทำให้การสร้างเว็บไซต์ที่ดูไม่เหมือนใครและเป็นมืออาชีพนั้นกลายเป็นเรื่องง่าย ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ถนัดด้านงานเทคนิคหรือการออกแบบก็ตาม
นอกจากที่คุณจะมีเครื่องมือครบครันสำหรับออกแบบร้านค้าที่ดูน่าดึงดูดเพื่อเปลี่ยนผู้เยี่ยมชมให้กลายมาเป็นลูกค้าแล้ว
คุณก็ยังจะได้รับเครื่องมือสำหรับการตลาดและการทำธุรกิจเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอีกด้วย
หากเรื่องราคานั้นเป็นเรื่องที่ทำให้คุณกังวล Shopify ก็มีแพลนราคาประหยัดสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถสร้างร้านค้าออนไลน์ของคุณ ทดลองตลาด และค่อยอัปเกรดเมื่อคุณพร้อมแล้วได้ จนกว่าจะถึงตอนนั้น คุณยังสามารถเข้าถึงเครื่องมือธุรกิจบนเว็บได้อย่างเต็มรูปแบบและฟรีอีกด้วย
อ่านต่อไปเลยหากคุณสนใจที่จะเรียนรู้ว่าการสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของตัวเองนั้นง่ายขนาดไหน และก็เริ่มโปรโมทและขายสินค้าออนไลน์ได้เลย
เป็นมือใหม่ด้านอีคอมเมิร์ซใช่ไหม? นี่คือวิธีการเริ่มต้น
ขั้นแรกของการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่จะประสบความสำเร็จก็คือการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการจะขาย บางทีคุณอาจจะมีสินค้าที่คุณเป็นคนสร้างเองอยู่แล้ว หรือคุณอาจจะมีของที่เจาะกลุ่มลูกค้าแบบ niche ซึ่งคุณเองก็มีความชื่นชอบในด้านนั้น ถ้าเป็นแบบนั้น ก็ให้ลองเริ่มคิดดูว่าคุณจะแปลงความชื่นชอบหรือผลงานของคุณไปเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าคุณอยากจะขายอะไร
คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่กำลังอินเทรนด์หรือได้รับความนิยมซึ่งมีศักยภาพที่จะเติบโตในระยะยาวได้ หรือได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถอยู่ได้นานจริง เริ่มต้นด้วยการใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Google Trends และเปิดดูตามเว็บไซต์โซเชียลมีเดีย และสินค้าที่ “ขายดีที่สุด” และ “ต้องการซื้อมากที่สุด” บน marketplace อย่าง Amazon
หลังจากที่คุณชัดเจนแล้วเรื่องที่ว่าจะขายอะไร ก็เริ่มขั้นตอนถัดไปกันได้เลย:
ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้า และสิ่งที่ทำให้แบรนด์ของคุณมีความแตกต่าง ผลิตภัณฑ์ของคุณสามารถแก้ปัญหาที่ลูกค้ามีได้หรือไม่/ คุณได้ระบุ niche ย่อยและจุดเด่นทางการตลาดที่มีความแตกต่างและทำให้คุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งแล้วหรือยัง?
niche ที่ไม่เหมือนใครพร้อมจุดขายที่แตกต่างทำให้ร้านที่ประสบความสำเร็จบน Shopify เหล่านี้เจริญเติบโตได้
นั่นคือสิ่งที่ผู้ก่อตั้งแบรนด์
Allbirds ทำตอนที่พวกเขาเปิดร้าน Shopify ด้วยผลิตภัณฑ์ตัวเดียว – รองเท้าซึ่งทำจากขนสัตว์ประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งเลือกมาจากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน
และก็ยังเป็นวิธีการที่
Juicy Chemistry สร้างธุรกิจความงามด้วย พวกเขาพัฒนาไลน์สินค้าที่ตอบโจทย์ปัญหาการดูแลผิวหนัง และอาศัยเรื่องที่ว่ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ความงามแบบออร์แกนิค Shopify นั้นมีความอเนกประสงค์ทำให้พวกเขาสามารถเริ่มต้นอย่างเล็ก ๆ ด้วยการขายเฉพาะในอินเดีย ก่อนที่จะเปิดตัวทั่วโลกหลังจากที่ธุรกิจเติบโต
หลังจากที่คุณเลือก niche และระบุกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ที่เหลือก็เพียงแค่ทำแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจของคุณควรจะประกอบไปด้วยการวิเคราะห์คู่แข่ง เป้าหมายภารกิจ งบประมาณ และกลยุทธ์การตลาด ขอให้จำเอาไว้ว่าแผนธุรกิจนั้นเป็นเอกสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และคุณก็จะต้องกลับมาอัปเดตมันหลังจากที่ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นแล้ว
เลือกแพลตฟอร์มที่ใช่สำหรับขายผลิตภัณฑ์ของคุณ
ยังไม่มั่นใจใช่ไหมว่าคุณจะขายแค่บนโซเชียลมีเดียหรือบน marketplace บุคคลที่สามอย่าง Amazon ดี? นี่เป็นเรื่องที่คุณควรจะต้องพิจารณา: เวลาที่คุณเลือกใช้เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อย่าง Shopify คุณจะได้ร้านที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งจะเป็นหน้าตาของแบรนด์คุณ และมาพร้อมกับเครื่องมือสำหรับทำธุรกิจ
มันไม่ใช่เรื่องยากหรือมีค่าใช้จ่ายสูง ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยสร้างเว็บไซต์มาก่อน
Shopify ก็มีเทมเพลตร้านค้าที่ถูกออกแบบมาอย่างดี มีโปรแกรมที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน และก็มีคู่มือติดตั้งที่ช่วยเหลือได้ ทำให้คุณสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ที่เป็นมิตรต่ออุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย
Shopify นั้นมีธีมฟรีสำหรับ niche ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม – สไตล์ที่แตกต่าง แต่ฟีเจอร์ดีเหมือนกัน
และคุณก็ไม่ต้องล้มเลิกการขายบนโซเชียลหรือ marketplace ด้วย
Shopify จะรวมและซิงค์ ช่องทางการขายทั้งหมด ทำให้การบริหารจัดการนั้นเป็นเรื่องง่าย พร้อมทั้งรักษาการส่งข้อความที่มีความเสถียร และจะทำให้คุณมีเวลาว่างไปใส่ใจในเรื่องที่สำคัญจริง ๆ – การดึงดูดและรักษาลูกค้า ที่ดีกว่านี้
Shopify จะสร้างแดชบอร์ดสำหรับแต่ละช่องทางการขายที่คุณเพิ่ม ดังนั้นคุณจะสามารถดูรายงานยอดขายและทราฟฟิคได้ตรงจากหน้าแดชบอร์ด
Shopify นั้นมีตัวเลือกให้คุณเพิ่มช่องทางโซเชียลไปยังหน้าร้านของคุณ ซึ่งรวมถึง Facebook, Instagram และ Amazon ยิ่งไปกว่านั้น
Shopify นั้นยังมีฟีเจอร์และเครื่องมือขั้นสูงที่จะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้รอบด้าน : แจ้งเตือนลูกค้าอัตโนมัติ อีเมลการตลาด รายงานการวิเคราะห์ขั้นสูง และการติดตามคงคลังจากทุกช่องทางการขาย การประหยัดเงินที่เห็นได้ชัดเจนจากการชำระเงินที่ฟรีค่าธรรมเนียม และการลดราคาจากค่าส่ง 77% ถึง 88%
หากคุณพึ่งจะเริ่มต้นขาย และอยากที่จะประหยัดค่าใช้จ่าย Shopify มีวิธีการมากมายในการจัดหาผลิตภัณฑ์ให้คุณโดยไม่ต้องลงทุนตุนสินค้า เพียงแค่เพิ่มบริการ ปริ้นท์ออนดีมาน หรือ ดรอปชิปขายส่ง จาก app store คุณก็พร้อมเริ่มขายได้เลย
เป็นเรื่องดีมากที่ได้รู้ว่า
Shopify นั้นมีให้ทดลองใช้ฟรี 3 วัน ดังนั้นคุณสามารถลองใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อดูว่ามันเหมาะกับคุณไหมได้ ถ้ามันดูเหมือนจะเหมาะกับคุณ คุณก็สามารถเริ่มต้นด้วยแพลนเริ่มต้นในราคา
$ 29.00 ต่อเดือน แล้วค่อยอัปเกรดเมื่อธุรกิจของคุณเติบโตแล้ว
เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเริ่มต้นขายของกับ Shopify นั้นง่ายขนาดไหน เราจะมาดูกระบวนการออกแบบร้านที่ดูน่าอัศจรรย์ไปพร้อม ๆ กัน
เลือกชื่อสำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณ
เมื่อพูดถึงการเลือกชื่อที่เหมาะสมแล้ว ให้คิดถึงชื่อที่มีความชัดเจน ติดปาก และง่ายต่อการจดจำ ให้ดีที่สุด
ชื่อที่คุณเลือกสำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณนั้นควรจะบอกผู้คน – และ search engine ได้ถึงความเป็นตัวตนเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ อย่างเช่นคำว่า “juicy” ของ Juicy Chemistry อันยอดนิยมจะช่วยกระตุ้นให้เห็นถึงวัตถุดิบออร์แกนิคที่ดีต่อสุขภาพในผลิตภัณฑ์เสริมความงามของพวกเขา
หากคุณยังคิดชื่อที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ไม่ออก Shopify ก็พร้อมจะช่วยคุณ –
เครื่องมือสร้างชื่อธุรกิจนั้นสามารถช่วยคุณได้
การเลือกชื่อโดเมนที่เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณก็สำคัญไม่แพ้กัน นี่คือ URL หรือที่อยู่เว็บไซต์ซึ่งลูกค้าจะพิมพ์ลงในเบราว์เซอร์เพื่อเข้าถึงร้านของคุณ ชื่อโดเมนที่ดีควรจะตรงกับชื่อร้านของคุณ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ คุณก็สามารถใช้ชื่อร้านของคุณผสมกับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องได้ เช่นเคย
Shopify นั้นจะมีเครื่องมือฟรีที่มีประโยชน์สำหรับทำให้งานของคุณง่ายขึ้น – เครื่องมือสร้างชื่อโดเมน .
เครื่องมือสร้างชื่อโดเมนของ Shopify นั้นจะมาพร้อมกับตัวเลือกมากมาย Shopify จะทำการสร้างโดเมนย่อยให้ฟรีอย่างอัตโนมัติเมื่อคุณสมัครใช้งาน อย่างเช่นที่เราได้รับมา – “designfortheplanet.myshopify.com.”
อย่างไรก็ตาม การซื้อโดเมนที่ปรับแต่งชื่อเฉพาะจาก Shopify หรือผู้ให้บริการรายอื่นนั้นก็คุ้มค่าใช้จ่ายที่เสียไป การมีชื่อโดเมนดีนั้นจะทำให้ลูกค้าค้นหาเว็บไซต์ของคุณเจอได้ง่ายกว่า และจะช่วยสร้างแบรนด์ และสามารถทำให้อันดับการค้นหาบน search engine ดีขึ้นได้
ปรับแต่งร้าน Shopify ของคุณ
หากคุณยังไม่ได้เลือกธีมตอนที่คุณสร้างบัญชีของคุณ Shopify ก็จะทำการโหลด
Dawn (ธีมตั้งต้น 2.0 ฟรี) ให้สำหรับแดชบอร์ดของคุณ แต่ถ้าคุณอยากได้อะไรที่แตกต่างล่ะ? มีธีมที่ดูน่าดึงดูดให้คุณเลือกมากมาย
Shopify มีธีมร้านค้าถึง 95+ ธีม ประกอบไปด้วยธีมฟรีถึง 10+ ธีม คุณสามารถกรองธีมได้ด้วยหลายวิธี: ด้วยอุตสาหกรรม, ขนาดแค็ตตาล็อก และฟีเจอร์ (รูปแบบเมนู หัวข้อ มุมมองอย่างเร็ว และอื่น ๆ) คุณสามารถจัดเรียงตามราคาได้ด้วย
การเลือกธีม Shopify ที่เหมาะกับคุณนั้นเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คุณคิดเอาไว้ หนึ่งในข้อดีของ Shopify ก็คือมัน
จะไม่ล็อกให้คุณใช้ธีมเดียวในช่วงการทดลองใช้ฟรี 3 วัน คุณสามารถลองเปลี่ยนไปใช้งานได้หลายธีมจนกว่าที่คุณจะเจออันที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณ
หลังจากที่คุณเลือกธีมที่เหมาะกับคุณทางด้านศิลป์และฟีเจอร์แล้ว คุณก็สามารถเริ่มตั้งค่ารูป พื้นหลัง สี และข้อความให้เข้ากับแบรนด์ธุรกิจของคุณได้เลย Shopify นั้นจะไม่ได้เปิดให้คุณใช้งานการลากวางอย่างไม่จำกัด ดังนั้นคุณจะไม่สามารถแก้ไขธีมของคุณด้วยการลากวางได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ แต่คุณสามารถเคลื่อนย้ายส่วนประกอบไปรอบ ๆ และปรับแต่งได้พอประมาณเพื่อสร้างร้านที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ปรับแต่งธีม Shopify ให้ดูเหมาะกับคุณ การเพิ่มหน้า ข้อความ และวิดีโอนั้นทำได้ไม่ยาก ธีม Shopify นั้นไม่ได้มีฟีเจอร์เหมือนกันหมด โชคยังดีตรงที่
ถ้าธีมของคุณไม่ได้มาพร้อมกับ บล็อก หน้าเกี่ยวกับ หรือหน้าติดต่อ คุณก็สามารถเพิ่มมันเข้าไปได้อย่างง่ายดายด้วยการ “Add Page ( เพิ่มหน้า )” ในแดชบอร์ด จากนั้นคุณก็สามารถใช้เทมเพลตหน้าอย่างเช่นสำหรับหน้าติดต่อ หรือหน้าคำถามที่พบบ่อย หากคุณใช้ธีมร้านค้าออนไลน์ 2.0 ของ Shopify คุณก็ยังสามารถออกแบบเทมเพลตใหม่ได้ด้วยเช่นสำหรับข้อความรับรอง
หลังจากที่คุณเพิ่มหน้าแล้ว คุณก็สามารถเพิ่มเนื้อหาของคุณเองได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถเพิ่มลิงก์ รูปภาพ และวิดีโอได้บนทุกหน้า
หนึ่งในเรื่องที่เราชื่นชอบเกี่ยวกับ Shopify ก็คือ app store ของมัน ซึ่งมีแอปให้เลือกใช้งานเป็นพัน ๆ สำหรับช่วยเพิ่มฟังก์ชันให้กับร้านของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น แอปต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เปิดให้ใช้ได้ฟรี ทำให้คุณ
สามารถเพิ่มฟีดโซเชียลมีเดีย ออกแบบแคมเปญอีเมล จัดหาผลิตภัณฑ์ โพสต์รีวิว / รูปถ่ายผลิตภัณฑ์ และอีกมากมาย
Shopify จะแนะนำแอปที่คุณอาจจะอยากเพิ่มใช้งาน – แต่มันก็ยังมีอีกมากมายให้เลือก สำหรับการจะเพิ่มแอปไปยังร้าน Shopify ของคุณ เพียงแค่ไปที่ “Apps and Sales Channels ( แอปและช่องทางการขาย )” ในการตั้งค่าร้านของคุณ จากตรงนี้ให้คลิก “Customize your store (ปรับแต่งร้านค้าของคุณ)” เพื่อเข้าถึง App Store และคุณก็จะสามารถเลือกดูแอปได้ตามหมวดหมู่หรือค้นหาแอปเฉพาะเจาะจงได้ คุณสามารถรีวิวแอปที่ Shopify แนะนำได้ด้วย
วิธีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ของคุณ
หนึ่งในข้อได้เปรียบของการใช้ Shopify ก็คือแพลตฟอร์มนี้จะช่วยคุณตั้งค่าร้านไปตลอดทาง – และนั่นก็รวมถึงการค้นหาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมันไปบนร้านของคุณด้วย
ในการเพิ่มผลิตภัณฑ์แรก เพียงแค่คลิกบน “Add product (เพิ่มผลิตภัณฑ์)” ตรงมุมขวาบนของหน้าแดชบอร์ด Shopify ของคุณ และก็อัปโหลดรูปผลิตภัณฑ์พร้อมกับคำอธิบาย
คุณสามารถเข้าถึงหน้าผลิตภัณฑ์ของคุณได้ผ่านแดชบอร์ด Shopify ของคุณ จากนั้นคุณก็สามารถ
เพิ่มชื่อผลิตภัณฑ์ รูปภาพ ราคา รูปแบบ และจำนวน ได้ คุณภาพของรูปภาพและคำอธิบายผลิตภัณฑ์นั้นสามารถสร้างความแตกต่างได้ระหว่างที่ลูกค้าซื้อกับไม่ซื้อ สำหรับการเขียนคำอธิบายที่น่าสนใจ เราแนะนำให้เขียนเกินกว่าคำอธิบายเกี่ยวกับฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์ คุณควรจะแสดงให้เห็นถึงข้อดีที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครที่มันจะมอบให้กับลูกค้าได้
ขึ้นกับว่าคุณขายผลิตภัณฑ์รูปแบบไหน คุณอาจจะเพิ่มวิธีการดูแลและอัปโหลดคู่มือการใช้งานผลิตภัณฑ์เพิ่มไปด้วยก็ได้ นี่เป็นเรื่องจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณขายสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือสินค้าขนาดเล็ก
Shopify ทำให้การเพิ่มรูปภาพผลิตภัณฑ์ วิดีโอ และคำอธิบายเป็นเรื่องง่าย Shopify นั้นยังมีการตั้งค่าที่เป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้คุณขายสินค้าเพิ่มได้ ด้วยการแสดงรายการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้พวกเขาเห็น แท็กของมีจำกัดนั้นก็จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้รีบซื้อสินค้าก่อนที่มันจะหมดได้ด้วย
อัปเดตการตั้งค่าร้านค้าและข้อมูลการชำระเงิน
แดชบอร์ด Shopify ของคุณคือจุดที่คุณสามารถใช้เข้าถึงการตั้งค่าเริ่มต้นทั้งหมดของร้านค้า ประกอบไปด้วยช่องทางการขาย ตัวเลือกการชำระเงิน การส่งสินค้า ภาษี และอีกมากมาย เช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ ของ Shopify อินเทอร์เฟซตรงนี้ทำให้งานต่าง ๆ เป็นเรื่องง่าย – ถึงแม้คุณจะเป็นมือใหม่ก็ตาม เพียงแค่เลือกดูทีละรายการ คุณสามารถเปลี่ยนกลับได้ในภายหลังเสมอ
คลิกบนไอคอนที่มุมซ้ายล่างของแดชบอร์ดเพื่อเปิดการตั้งค่าทั้งหมดของร้าน Shopify นั้นมีเกตเวย์ชำระเงินให้เลือกถึง 100+ (ทั้งผู้ให้บริการในสหรัฐอเมริกาและนานาชาติ) ดังนั้นลูกค้าของคุณจึงสามารถชำระเงินด้วยสกุลเงินที่ต้องการได้ พวกเขายังสามารถเลือกใช้วิธีการชำระเงินได้ถึง 60+ วิธี ประกอบไปด้วยบัตรเครดิต/เดบิตรายใหญ่, กระเป๋าเงินดิจิทัล (Apple Pay, Google Pay, and Samsung Pay), PayPal, Amazon Pay, Meta Pay, โอนเงินธนาคาร – หรือแม้แต่เงินสกุลดิจิทัล!
หากคุณใช้การชำระเงินของ Shopify คุณก็จะไม่ถูกหักค่าธรรมเนียมธุรกรรมบวกเพิ่มไปกับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตด้วย ตัวเลือกอื่น ๆ ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมธุรกรรมประกอบไปด้วย PayPal, Amazon Pay และ Apple Pay
Shopify มีตัวเลือกการชำระเงินมากมายที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมธุรกรรม การเพิ่ม Afterpay จะทำให้ลูกค้าของคุณมีเวลาถึง 6 เดือนในการชำระเงิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายได้ คุณยังสามารถให้ตัวเลือกกับผู้ซื้อเพื่อจ่ายเงินด้วยการโอนเงินธนาคาร เช็ค ธนาณัติ หรือเก็บเงินปลายทางได้ด้วย เพื่อทำให้ธุรกรรมของคุณมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น Shopify จะมีการเฝ้าสังเกตและปักธงรายการที่ดูเหมือนจะเป็นการฉ้อโกงเพื่อปกป้องธุรกิจของคุณและลดการขอคืนเงิน
คลิกที่ “Checkout ( เช็คเอาท์ )” เพื่อปรับแต่งประสบการณ์การซื้อของ และทำให้ร้านของคุณดูเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เปิดให้ลูกค้าสามารถตั้งค่าบัญชีและเก็บข้อมูลส่วนตัวและวิธีการชำระเงินได้อย่างมีความปลอดภัยด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง “Shop Pay” จะสามารถเพิ่มความคล่องตัวให้การจ่ายเงินและเพิ่มยอดขายได้
“Notifications ( การแจ้งเตือน )” คือบริเวณที่คุณจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยให้คุณบริหารจัดการและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ จากตรงนี้ คุณสามารถปรับแต่งและออกแบบรวมถึงนำส่งอีเมลแจ้งเตือนอัตโนมัติได้ถึง 16 รูปแบบ ประกอบไปด้วย “การต้อนรับ” ลูกค้าใหม่ การยืนยันคำสั่งซื้อ การยื่นข้อเสนอลดราคาให้หน้าจุดจ่ายเงินที่ถูกทิ้ง การจัดส่ง และการคืนเงิน
คุณสามารถตั้งค่าอีเมลและข้อความอัตโนมัติได้มากมายเพื่อติดต่อหาลูกค้า หากคุณต้องการที่จะเข้าถึงลูกค้าจากนานาชาติ
การตั้งค่าภาษาก็จะมีตัวเลือกให้คุณเพิ่มแอปแปลภาษาเพื่อทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมสามารถดูเว็บไซต์ของคุณในภาษาบ้านเกิดของพวกเขาได้ น่าทึ่งมากที่มันมีให้เลือกถึง 135+ ภาษา และก็เช่นเดียวกันถ้าในตอนแรก คุณได้สร้างเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายนานาชาติ และตอนนี้คุณต้องการที่จะหันมาหากลุ่มเป้าหมายในไทย แอปแปลภาษานี่ก็จะช่วยแปลเว็บของคุณไปเป็นภาษาไทยได้
การตั้งค่าอื่น ๆ จะทำให้คุณสามารถปรับแต่งนโยบายร้านค้าของคุณสำหรับการคืนเงิน ความเป็นส่วนตัว และการจัดส่งได้ Shopify จะเพิ่มนโยบายร้านค้าที่ถูกอัปเดตใหม่ และข้อมูลติดต่อไปยังฟุตเตอร์ของธีมคุณโดยอัตโนมัติ หากคุณมีหน้าคำถามที่พบบ่อยซึ่งมีความครอบคลุมแล้วด้วยนั้น ร้านค้าของคุณก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
พรีวิวและเปิดร้าน Shopify ของคุณ
ก่อนที่จะเผยแพร่ร้านของคุณ คุณอาจจะอยากพรีวิวเนื้อหาของมันเพื่อดูระบบนำทาง ลิงก์ จุดจ่ายเงิน และฟังก์ชันอื่น ๆ ก่อน เมื่อคุณทำแบบนี้ พยายามมองดูเว็บไซต์ของคุณในมุมมองของลูกค้าในอนาคต
หนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำการทดสอบร้านของคุณก็คือการเลือกสินค้าและทำการสั่งซื้อ นี่จะทำให้คุณเข้าใจการทำงานของการนำทางบนเว็บไซต์และกระบวนการจ่ายเงินของคุณเอง ลองพิจารณาเรื่องเหล่านี้ดู: สินค้าค้นหาเจอได้ง่ายหรือไม่? วิธีการชำระเงินทั้งหมดนั้นใช้งานได้ถูกต้องหรือไม่? ภาษีถูกคำนวณถูกต้อง และตัวเลือกการจัดส่งถูกแสดงไว้ชัดเจนหรือไม่?
หากคุณยังไม่ได้ทำ คุณก็คงอยากที่จะ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลิงก์และปุ่มที่คลิกได้นั้นสามารถทำงานได้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีสินค้าที่เป็นรายการเด่นบนหน้าโฮมเพจของคุณ ให้ลองคลิกดูว่าลิงก์นั้นจะพาไปสู่หน้าหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่
ก่อนที่คุณจะกดเผยแพร่ ให้พรีวิวร้านค้าของคุณบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่ก่อน ในขณะที่ธีม Shopify นั้นเป็นแบบ responsive สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่มันก็มีความสำคัญที่คุณจะต้องตรวจสอบว่าร้านของคุณสามารถใช้งานได้ถูกต้องและดูดีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย –เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของคุณคงจะเข้ามาที่เว็บไซต์ทางนั้น
หลังจากที่ร้านของคุณผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายนี้แล้ว คุณก็พร้อมที่จะเผยแพร่และโปรโมทร้านของคุณ – และเริ่มรับออเดอร์ได้เลย!
ขายสินค้าบนร้านค้าออนไลน์ของคุณเองเพื่อยกระดับยอดขายของคุณขึ้นไปอีกขั้น
ร้านค้าออนไลน์นั้นสามารถที่จะกลายเป็นธุรกิจทำกำไรได้ แต่เฉพาะถ้าคุณเลือกแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือที่คุณต้องการและจะช่วยให้คุณทำให้ธุรกิจเติบโตได้ น่าเสียดาย ที่หลายเจ้านั้นยังมีบริการที่ไม่ดีพอ
ไม่น่าแปลกใจที่ Shopify นั้นถูกใช้เพื่อสร้างร้านค้าออนไลน์มาแล้วกว่าหนึ่งล้านแห่ง
แพลตฟอร์มนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ดีไซน์บิ้วท์อิน การตลาด และเครื่องมือจำเป็นอื่น ๆ เพื่อดึงดูดและสร้างฐานลูกค้าที่มั่นคง – ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงแบบนี้
เพื่อให้ประสบความสำเร็จ คุณจะต้องใช้ประโยชน์จากทุกอย่างที่ Shopify มีให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือ SEO ที่แข็งแกร่ง ข้อมูลวิเคราะห์เจาะลึก และรายงานประสิทธิภาพที่มีความครอบคลุม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้มันมีความแตกต่างจากคู่แข่ง
คำถามพบบ่อย
Shopify นั้นเหมาะสำหรับขายสินค้าออนไลน์หรือไม่ ?
Shopify เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด สำหรับใช้ขายสินค้าได้ทุกชนิด มันมีเครื่องมือจัดการ การตลาด วิเคราะห์ ที่ยอดเยี่ยมสำหรับอีคอมเมิร์ซเพื่อช่วยให้คุณเปิด โปรโมท และทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ แถมคุณจะสามารถเข้าถึงแอปได้เป็นพันซึ่งจะเพิ่มฟีเจอร์ที่จะช่วยคุณจัดหาผลิตภัณฑ์ จัดส่งออเดอร์ และดึงดูดลูกค้า
คุณสามารถขายสินค้าบน Shopify ฟรีได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ แต่ Shopify มีแพลนระดับเริ่มต้นที่มีค่าใช้จ่ายเพียงไม่กี่ดอลลาร์ต่อเดือน และมันก็มาพร้อมกับเครื่องมือทำธุรกิจทั้งหมดของแพลตฟอร์มให้ใช้ได้ฟรี และเครื่องมือประมวลผลการชำระเงินอย่างปลอดภัย มันเป็นตัวเลือกที่ดีถ้าคุณกำลังคิดจะเริ่มธุรกิจใหม่ หรืออยากที่จะประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนที่คุณจะสร้างร้านค้าออนไลน์ คุณสามารถอัปเกรดแพลนของคุณได้ตามต้องการเมื่อร้านของคุณเติบโตขึ้น
การออกแบบร้านบน Shopify นั้นง่ายสำหรับมือใหม่หรือไม่ ?
Shopify ทำให้การเปิดร้านออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่าย – ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยสร้างเว็บไซต์มาก่อนเลยก็ตาม คู่มือการตั้งค่าและโปรแกรมที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานนั้นทำให้การปรับแต่งธีมร้าน การเพิ่มสินค้า และการกำหนดค่าวิธีการชำระเงิน และบริการจัดการช่องทางขายและคงคลังกลายเป็นเรื่องง่าย หากคุณต้องการความช่วยเหลือ คุณก็สามารถเข้าถึงวิดีโอสอน คอร์สออนไลน์ และฐานข้อมูลที่มีความครอบคลุมได้ ฝ่ายบริการลูกค้านั้นก็พร้อมให้บริการ 24/7 ผ่านทางอีเมล หรือไลฟ์แชท
คุณสามารถขายของบน Shopify โดยไม่ลงทุนซื้อสินค้าคงคลังได้หรือไม่ ?
คุณสามารถจับมือกับบริการดรอปชิป และเปิดร้านบน Shopify โดยที่ไม่ต้องซื้อสินค้าคงคลังได้ App Store ของ Shopify นั้นมีแอปให้เลือกเป็นร้อย ๆ สำหรับการทำดรอปชิป ไม่ว่าจะเป็น ปริ้นท์ออนดีมานเหมือนอย่างของ Printful และ Printify ไปจนกระทั่ง marketplace อย่าง Oberlo และ AliExpress ด้วยโมเดลอีคอมเมิร์ซแบบนี้ คุณในฐานะเจ้าของร้านก็เพียงแค่ส่งออเดอร์เหล่านี้ไปยังบริการดรอปชิปที่จะจัดการเรื่องการส่งของแทนคุณ