เว็บโฮสติ้งคืออะไร?
เว็บโฮสติ้งคือการเช่าพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์สำหรับหน้าเว็บไซต์ รูปภาพ และเนื้อหาอื่น ๆ ทั้งหมดของคุณ จากนั้นพื้นที่เซิร์ฟเวอร์นี้ก็จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าดูเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยที่จะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงหรือลบได้
มีการทำเว็บโฮสติ้งในหลายรูปแบบซึ่งก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าคุณพึ่งจะเริ่มต้น จะมีเพียงการโฮสติ้งแค่สองแบบที่เหมาะกับคุณ ได้แก่การโฮสพร้อมบริการโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ และการโฮสติ้งแบบ shared
“shared web hosting” (การโฮสติ้งแบบ shared) หมายความว่าเว็บไซต์ของคุณจะแชร์ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ร่วมกับอีกหลายเว็บไซต์อื่น ๆ นี่เป็นโซลูชันที่มีราคาถูกที่สุดสำหรับเว็บไซต์เปิดใหม่ซึ่งยังมีผู้เยี่ยมชมไม่มาก และบางครั้งมันก็จะมาพร้อมกับ wizard สำหรับติดตั้งเว็บไซต์หรือโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่จะช่วยคุณในการเริ่มต้น แต่ปกติแล้วคุณมักจะต้องใช้ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (CMS) เช่น WordPress ในการสร้างและบริหารจัดการเว็บไซต์ของคุณสำหรับผู้ให้บริการโฮสติ้งแบบ shared
ไม่ใช่ว่าเว็บโฮสทุกรายจะมีคุณภาพที่เท่ากัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องเลือกผู้ให้บริการที่ให้บริการคุ้มค่ากับเงินที่คุณจ่าย เว็บโฮสที่ดีที่สุดจะต้องมีเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพดี ใช้งานง่าย และมีฟีเจอร์ความปลอดภัยฟรีอย่างเช่น SSL certificate เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปัจจุบัน
ในการทดสอบของพวกเราค้นพบว่า Hostinger นั้นมีข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบสัดส่วนเงินที่ต้องจ่ายต่อประสิทธิภาพ สำหรับเว็บโฮสติ้งแบบ shared พวกเขามีให้ทุกอย่างที่คุณจะต้องใช้สำหรับการเริ่มต้นเว็บไซต์แรกของคุณในราคาที่ไม่แพง
ชื่อโดเมนคืออะไร?
ชื่อโดเมนหรือโดเมนเนมคือที่อยู่เว็บไซต์ของคุณ เช่น “websiteplanet.com” ในการจะเข้าถึงเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม คุณจะต้องพิมพ์ชื่อที่อยู่ของมัน – หรือก็คือชื่อโดเมน หรือ uniform resource locator (URL) – ลงไปในเว็บเบราว์เซอร์ หรือคุณสามารถคลิกที่ลิงก์ซึ่งจะพาคุณไปยังที่อยู่นั้นได้
ในการจะได้ชื่อโดเมน คุณจะต้องจดทะเบียนชื่อที่ยังไม่มีคนใช้กับผู้จดทะเบียนโดเมน เนื่องจากบริษัทเว็บโฮสติ้งส่วนใหญ่นั้นก็เป็นผู้จดทะเบียนโดเมนในตัวด้วย ทำให้คุณมักจะสามารถจดทะเบียนชื่อโดเมน (หรือรับฟรี) ได้จากบริษัทที่คุณซื้อบริการโฮสติ้งไปในคราวเดียวกัน
คุณจะต้องเลือกนามสกุลชื่อโดเมนตอนที่คุณเลือกชื่อโดเมน นามสกุลชื่อโดเมนซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับธุรกิจหรือบุคคลนั้นคือ “.com” เนื่องจากพบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุดและเป็นที่น่าจดจำมากที่สุด
ถ้าคุณไม่สามารถขอรับชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .com ได้ (ถ้ามันถูกคนอื่นจดทะเบียนไปก่อนแล้ว) คุณก็สามารถลองนามสกุลอื่นอย่างเช่น .co, .net หรืออีกหลาย ๆ ตัวเลือกได้ คุณอาจจะสนใจ .org หากองค์กรของคุณนั้นไม่แสวงหากำไร หรือนามสกุลตามประเทศ (เช่น .th ถ้าคุณเป็นบริษัทในไทย)
คุณไม่จำเป็นต้องซื้อบริการเว็บโฮสติ้งและชื่อโดเมนจากบริษัทเดียวกัน ถ้าคุณตัดสินใจเปลี่ยนเว็บโฮส บางครั้งมันก็จะดำเนินการได้ง่ายกว่าถ้าคุณจดทะเบียนชื่อโดเมนกับผู้จดทะเบียนที่ไม่ใช่ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของคุณ อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ง่ายที่สุดและรวดเร็วที่สุดสำหรับการเริ่มต้นก็คือการเลือกหาแพลนโฮสติ้งและชื่อโดเมนจากที่เดียวกัน
นี่คือรายการแนะนำเว็บโฮสติ้งตัวท็อปของเรา (บางรายมีแถมชื่อโดเมนให้ฟรีด้วย!)
โดยรายการแนะนำตัวท็อปจะเริ่มต้นจากโฮสติ้งที่มาพร้อมกับโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ เนื่องจากมันเป็นวิธีการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่ จากนั้นก็จะตามมาด้วยผู้ให้บริการโฮสติ้งแบบ shared ที่รองรับ WordPress ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าในตอนที่คุณสร้างเว็บไซต์ แต่จะมี learning curve ที่สูงชันกว่า1. Wix: โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ออลอินวันและเว็บโฮสที่ดีที่สุด
แพลน Combo ของ Wix จะควบรวมทุกอย่างที่คุณต้องการมาไว้ให้ สำหรับการเริ่มเว็บไซต์เว็บแรกของคุณ ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อโดเมน เว็บโฮสติ้ง และโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ แต่สิ่งที่ทำให้ Wix เป็นที่เลือกในอุดมคติสำหรับมือใหม่ก็คือโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายแบบลากวาง โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่มี template ถึง 900 กว่าแบบนั้นจะสามารถเป็นโครงสร้างรองรับสำหรับเว็บไซต์ทุกรูปแบบที่คุณต้องการให้คุณได้ภายในเวลาไม่กี่นาที การเปลี่ยนแปลงเลย์เอาต์นั้นก็ง่ายมาก เนื่องจาก Wix ไม่มีข้อจำกัดว่าคุณจะต้องวางองค์ประกอบต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไว้ตรงไหน (ข้อความ รูปภาพ เมนู และอื่น ๆ) ถ้าคุณไม่ใช่ผู้ถนัดด้านการออกแบบ การใช้งานเลย์เอาต์ตามที่ template ออกแบบมานั้นก็น่าจะเป็นความคิดที่ดีกว่า จากนั้น คุณก็สามารถแทนที่ข้อความและรูปภาพเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของคุณได้ประหยัดสูงสุด 50 % เมื่อซื้อบริการกับ Wix!
สมัครใช้บริการแผนรายปีและเพลิดเพลินไปกับส่วนลดต่าง ๆ
และรับชื่อโดเมนแบบกำหนดเองฟรีเป็นเวลา 1 ปี!
ฟีเจอร์:
- Wix ADI หากคุณต้องการสร้างสรรค์สิ่งที่นอกเหนือจาก template มาตรฐานแล้วนั้น Wix’s artificial design intelligence (ADI)(ปัญญาประดิษฐ์สำหรับออกแบบ) จะช่วยทำการตัดสินใจด้านเลย์เอาต์หลักให้คุณโดยมันจะเน้นความมีประสิทธิภาพสูงสุด นี่จะเป็นการช่วยสร้างหน้าตาเว็บไซต์ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แต่ยังคงเน้นเรื่องหลักการความมีประสิทธิภาพในการใช้งานของอินเทอร์เฟซผู้ใช้งาน
- จดทะเบียนชื่อโดเมนฟรี ในแพลนส่วนใหญ่ของ Wix คุณจะได้สิทธิ์จดทะเบียนชื่อโดเมนฟรีสำหรับปีแรก และคุณจะสามารถเลือกนามสกุลได้จากตัวเลือกเหล่านี้ : .com, .net, .org, .info, .biz, .rocks, .pictures, .co.uk, .club, .space, และ .xyz
- ทดลองใช้ฟรี 14 วัน Wix มีให้ทดลองใช้ฟรี 14 วัน เพื่อที่คุณจะสามารถทดลองใช้บริการได้อย่างไม่มีความเสี่ยง
2. Squarespace: เป็นสองรองจาก Wix แบบตามกันมาติด ๆ ด้วยฟีเจอร์ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
คล้ายกันกับ Wix Squarespace นั้นเป็นโซลูชันแบบออลอินวัน สำหรับการโฮสติ้ง ชื่อโดเมน และการสร้างเว็บไซต์ และก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับมือใหม่ โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ของ Squarespace นั้นค่อนข้างจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า คุณจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายข้อความ รูปภาพ และเมนูไปตรงไหนก็ได้ตามต้องการในแต่ละหน้า แต่นั่นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นข้อเสีย เนื่องจากเป็นการลดโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เว็บไซต์ Squarespace ของคุณนั้นจะถูกสร้างมาโดยมีหลักการด้านเลย์เอาต์ที่เหมาะสมอยู่แล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องผ่านการเรียนเรื่องการออกแบบอินเทอร์เฟซผู้ใช้งานมาก่อน แพลนของ Squarespace นั้นค่อนข้างที่จะมีราคาแพงกว่าของ Wix แต่คุณจะได้ชื่อโดเมนฟรีตั้งแต่แพลนระดับเริ่มต้น และมันก็อาจจะคุ้มค่าราคาหากคุณชอบการทำงานของโปรแกรมสร้างเว็บไซต์แบบนี้ประหยัดมากถึง 36 % จากแผนการใช้งานของ SquareSpace ได้เลยวันนี้!
แถมยังได้โดเมนฟรีไปใช้หนึ่งปีอีกด้วย!
ฟีเจอร์:
- ทราฟฟิคเว็บไซต์ไม่จำกัด แพลนระดับเริ่มต้นทั้งสองของ Squarespace นั้นมีแบนด์วิดท์หรือทราฟฟิคไม่จำกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ Wix ไม่มี นั่นหมายความว่าคุณสามารถรองรับจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ โดยที่คุณไม่ต้องทำการอัปเกรดแพลนของคุณ
- จดทะเบียนชื่อโดเมนฟรี Squarespace เช่นเดียวกันกับ Wix มีข้อเสนอจดทะเบียนชื่อโดเมนฟรีในปีแรก
- ทดลองใช้ฟรี 14 วัน เหมือนกันกับ Wix ตรงที่คุณสามารถทดลองใช้ Squarespace ได้ฟรีเป็นเวลา 14 วัน เพื่อดูว่ามันจะเหมาะกับคุณหรือไม่
3. Hostinger: เว็บโฮสติ้งแบบ shared ที่มีความเร็วและความเสถียรสูง
แพลน shared ของ Hostinger ระดับ Premium นั้นคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด เนื่องจากพวกเขามีการจดทะเบียนชื่อโดเมนฟรีให้ด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะให้ได้ราคาที่ถูกที่สุดจาก Hostinger คุณจะต้องสมัครใช้งานแพลนแบบระยะยาวหนึ่งปี สองปี หรือสี่ปี เนื่องจาก Hostinger ไม่มีโปรแกรมสร้างเว็บไซต์มาให้ด้วยในแพลนแบบ shared แพลตฟอร์มของพวกเขาจึงเน้นหนักไปสำหรับการสร้างเว็บไซต์โดยใช้ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (CMS) อย่าง WordPress ถึงแม้ว่ามันจะมี learning curve ที่สูงชันกว่า แต่การใช้ WordPress ก็เป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาสำหรับการเผยแพร่เว็บไซต์เว็บแรกของคุณเนื่องจากมันมีธีมทั้งฟรีทั้งพรีเมียมให้เลือกใช้เป็นพัน ๆ ธีม ธีม WordPress นั้นเป็นเหมือน template สำหรับรูปแบบเว็บของคุณ หลังจากที่คุณติดตั้ง WordPress และเลือกธีมแล้ว คุณจะสามารถสร้างหน้าและบล็อกโพสต์ได้ ที่คุณต้องทำก็แค่เลือกดูเมนูทางด้านซ้าย และคลิกเลือกระหว่าง “โพสต์” หรือ “หน้า” เพื่อเริ่มฟีเจอร์:
- WP Starter Wizard ติดตั้งเว็บไซต์สำหรับ WordPress นี่จะช่วยคุณติดตั้ง WordPress และเลือกธีม
- ที่อยู่อีเมลฟรี คุณสามารถตั้งชื่อที่อยู่อีเมลเฉพาะสำหรับชื่อโดเมนได้ด้วยแพลนระดับเริ่มต้นของ Hostinger และด้วยแพลนโฮสติ้งแบบ shared ระดับพรีเมียมหรือสูงกว่า คุณสามารถสร้างได้ถึง 100 ที่อยู่อีเมล
- ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับ WordPress Hostinger ใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ LiteSpeed และการอัปเกรดอื่น ๆ ซึ่งทำให้เว็บไซต์ WordPress มีประสิทธิภาพสูงสุด
- อีเมลและไลฟ์แชทกับฝ่ายสนับสนุนได้ในภาษาไทย
4. InterServer: เว็บโฮสติ้งแบบ shared ที่มีฟีเจอร์แบบไม่จำกัด (แต่ชื่อโดเมนไม่ฟรี)
ฟีเจอร์แบบไม่จำกัดของ InterServer – เช่นแบนด์วิดท์ พื้นที่จัดเก็บ ที่อยู่อีเมล และจำนวนเว็บไซต์ – นั้นจะมีความโดดเด่นต่างจากคู่แข่งสำหรับการโฮสติ้งแบบ shared แพลนโฮสติ้งแบบ shared ระดับ Standard ของ InterServer ประกอบไปด้วยการเข้าถึง SitePad โปรแกรมสร้างเว็บไซต์แบบลากวาง แต่คุณก็มีตัวเลือกที่จะใช้ WordPress ได้ด้วย ซึ่งสามารถติดตั้งได้เพียงไม่กี่คลิก ดังนั้นคุณจึงสามารถลองได้ทั้งสองรูปแบบ – หรือลองระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่ InterServer รองรับก็ได้ ในเรื่องค่าใช้จ่ายจะต่างกับโฮสรายอื่นตรงที่ แพลนแบบ shared ของ InterServer นั้นมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ตรงไปตรงมา ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องเลือกใช้แพลนระยะยาวเพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่า คุณจะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเพื่อที่จะจดทะเบียนชื่อโดเมน แต่ค่าธรรมเนียมรายปีนั้นก็ไม่ได้แพงหูฉี่ฟีเจอร์:
- “Inter-Insurance” InterServer นั้นมีโซลูชันความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง และพวกเขาก็รับประกันว่าจะทำความสะอาดเว็บไซต์ของคุณให้หากเกิดปัญหารั่วไหล
- การส่งอีเมลที่มีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า การเปิดให้ใช้บัญชีอีเมลได้ไม่จำกัดจำนวน แปลว่า InterServer ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าลูกค้าไม่ได้ใช้มันเพื่อส่งสแปม อีเมลของลูกค้าทั้งหมดจะถูกกรองหลายขั้นตอน ซึ่งหมายความว่าอีเมลของคุณจะไม่มีทางถูกติดธง InterServer รับประกันว่าข้อความของคุณจะถูกส่งถึงผู้รับทุกข้อความ
- ทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ที่เพียงพอ ผู้ให้บริการโฮสติ้งแบบ shared ส่วนใหญ่จะอัดลูกค้าให้เต็มจำนวนที่สุดเท่าที่จะรับไหว ซึ่งส่งผลทำให้ประสิทธิภาพตก นโยบายของ InterServer คือจะรันเซิร์ฟเวอร์แค่ที่ 50% ของความจุ เพื่อไม่ให้เว็บไซต์ของลูกค้ารายอื่นมาทำให้เว็บไซต์ของคุณช้าลง
5. 1&1 IONOS: โฮสติ้งสำหรับ WordPress ที่มีราคาถูกที่สุด (เฉพาะในปีแรกเท่านั้น)
แพลนระดับ Business ของ 1&1 IONOS มีราคาถูกที่สุดในรายการนี้ผ่านข้อเสนอแนะนำ โดยจะได้ราคานี้เฉพาะในปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นราคาก็จะกลับเป็นปกติ และก็พูดตรง ๆ ว่าแข่งขันไม่ได้สักเท่าไร เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้น ถ้าคุณพึ่งจะเริ่มต้น แพลน WordPress Essential ของ IONOS จะดูเหมาะสมกว่ามาก เนื่องจากฟีเจอร์ที่ได้รับนั้นเพียงพอสำหรับเว็บไซต์เดี่ยว และราคาในระยะยาวก็สมเหตุสมผลมากกว่า และคุณก็จะได้รับชื่อโดเมนฟรีหนึ่งชื่อสำหรับปีแรกอีกด้วย IONOS ยังมีแพลนสร้างเว็บแยกอีกด้วย โดยจะมี template ที่เหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ราคาจะเพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัดหากคุณต้องการจะเพิ่มฟังก์ชันสำหรับร้านค้าออนไลน์เข้าไปด้วยฟีเจอร์:
- ซอฟต์แวร์แบบติดตั้งด้วยการคลิกครั้งเดียว ติดตั้ง WordPress ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที และก็สามารถเลือกใช้ธีมได้จากตัวเลือกหลายพันเพื่อสร้างโครงร่างให้เว็บไซต์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว
- การสำรองข้อมูลรายวัน เว็บไซต์และเนื้อหาของคุณจะได้รับการสำรองข้อมูลทุก ๆ 24 ชั่วโมงดังนั้นถ้าคุณเกิดทำผิดพลาดครั้งใหญ่จนเว็บไซต์คุณเสียหาย คุณก็สามารถกู้คืนเวอร์ชันก่อนหน้ามาใช้งานได้
- ทราฟฟิคไม่จำกัด ด้วย IONOS คุณจะมีแบนด์วิดท์ไม่จำกัด (ทราฟฟิค) ที่เข้าถึงเว็บไซต์ของคุณ ดังนั้นคุณจะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องข้อจำกัดหรือค่าธรรมเนียมการใช้เกิน